วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2561

สรรพคุณการกินดีปลีเพื่อสุขภาพ


ดีปลี (Long Pepper)






ดีปลี (Long Pepper) เป็นพืชสมุนไพรพื้นบ้าน มีลักษณะเป็นไม้เถาเลื้อยคล้ายต้นพริกไท ปัจจุบันนิยมปลูกมากขึ้นเพื่อการขายกล้าพันธุ์ และส่งออกดอกดีปลีแห้งไปต่างประเทศ สำหรับทำยา และเครื่องเทศ
• วงศ์ : Piperaceae
• ชื่อวิทยาศาสตร์ : Piper retrofractum Vahl.
• ชื่อสามัญ :
– Java Long Pepper
– Long Pepper

• ชื่อท้องถิ่น :
ภาคกลาง
– ดีปลี (ทุกภาค)
– ประดงข้อ                           
– ปานนุ                                                                         
ภาคใต้
– ดีปลีเชือก
อินโดนีเซีย
– cabe jawa
มาเลเซีย
– chabai jawa
ลาว
– Sali
• ถิ่นกำเนิด : เกาะ Moluccas ในอินโดนีเซีย และประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บริเวณภาคใต้ของไทย และมาเลเซีย รวมถึงประเทศอินเดีย

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลำต้น
เป็นไม้เถาหรือไม้เลื้อย มีรากงอกตามข้อ คล้ายต้นพริกไท ลำต้นมีรูปทรงกระบอก ผิวเรียบ สีเขียวเข้ม ส่วนเนื้อไม้เป็นไม้เนื้ออ่อน เปราะหักง่าย
ใบ
ใบเป็นใบเดี่ยวออกสลับกันบนกิ่ง มีลักษณะเป็นรูปไข่ ยาวรี แกมขอบขนาน ส่วนโคนใบมีลักษณะมนค่อนข้างกลม ปลายใบแหลม ใบคล้ายใบพริกไท และใบชะพลู ใบกว้าง 3-6 เซนติเมตร ยาว 7-16 เซนติเมตร ก้านใบสั้น ยาวประมาณ 5-10 มิลลิเมตร แผ่นใบทั้งสองข้างมีขนาดไม่เท่ากัน ผิวใบมีสีเขียวเข้มเป็นมันวาว เส้นกลางใบมีเส้นแยก 2 คู่ เส้นที่ฐานใบ 3-5 คู่
ดอก
ดอกมีลักษณะเป็นช่อ ออกที่ซอกใบ ดอกย่อยอัดกันแน่น เป็นดอกแยกเพศ ช่อดอกแต่ละเพศจะแยกกันอยู่ในต่างต้นกัน    
ผล
ผลมีลักษณะอัดกันแน่น ขนาดผลประมาณ 1 เซนติเมตร ยาวประมาณ 2.5-5 เซนติเมตร ผลอ่อนมีสีเขียวอมเหลือง ผลแก่มีสีเขียวเข้ม เมื่อสุกผลจะเปลี่ยนสีเป็นสีแดง เมื่อรับประทานจะให้รสเผ็ดร้อน และออกขมนิดๆ รวมถึงมีกลิ่นฉุนแรง


การนำมาใช้ประโยชน์
ส่วนที่นิยมนำมาใช้ประโยชน์ ได้แก่ ส่วนของใบ และผลแห้ง โดยผลดีปลีแห้งประกอบด้วยสารอัลคาลอยด์ ชื่อ Piperine ประมาณ 4 – 6%, Chavicine และน้ำมันระเหยหอม 1% สามารถนำผลแห้งหรือส่วนอื่นๆมาใช้ประโยชน์ได้ ดังนี้
1. ผลแห้งถือเป็นสินค้าสำคัญในการส่องออกสำหรับอุตสาหกรรมยา และเครื่องเทศ
2. การใช้ผลแห้งสำหรับตำรับยาพื้นบ้าน ได้แก่ การนำผลแห้งประมาณ 5-10 ผล ต้มน้ำดื่มหรือผสมมะนาวเล็กน้อย ช่วยแก้อาการไอ เจ็บคอ มีเสมหะ
3. ส่วนของใบสามารถนำมาต้มน้ำดื่มเป็นน้ำสมุนไพร นอกจากนั้น ยังใช้สารสกัดจากใบ และผลสำหรับเป็นยากำจัดแมลงศัตรูพืช
4. สารสกัดจากผลนำมาเป็นส่วนผสมของยาคุมกำเนิด
5. ผลดีปลีแห้ง นิยมใช้เป็นเครื่องเทศในการประกอบอาหาร โดยเฉพาะเมนูผัดหรือทอดต่างๆ
6. ราก และเถาดีปลีนำมาต้มย้อมผ้าที่ให้สีน้ำตาล

สารสำคัญที่พบ
ผล
– Piperine ประมาณ 4-6%
– Chavicine
– น้ำมันหอมระเหย ประมาณ 1%
– Methyl piperate
– Guineensine
– Piperside retrofacetamide C
– Piperlonguminine
– Pipernonaline
– Piperidine
– Piperoctadecalidine
– Pipereicosalidine
น้ำมันหอมระเหย
– Terpinolene
– Caryophyllene
– P-Cymene
– Thujene
– Dihydrocarveol
– β-c- 22 -aryophyllene
– β-bisabolene
– α-curcumene
– Pentadecane
– Caryophyllene oxide
– Heptadec-8-ene
– Heptadecane

สรรพคุณดีปลี
หากกินสด ดีปลีจะมีรสเผ็ดร้อนเล็กน้อย ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของสมุนไพรที่มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อได้เป็นอย่างดี ส่วนที่ใช้เป็นยา คือ รากใบ เถา ดอก ผลแก่จัดที่ยังไม่สุก หรือนำมาตากแดดให้แห้ง บดอัดใส่แคปซูลหรือนำมาทำเป็นยาดองยาหรือต้มน้ำดื่ม ให้สรรพคุณในด้านต่างๆ ได้แก่

ผลดีปลี
– สามารถใช้รักษาแก้พิษงู
– ช่วยขับเสมหะ ลดอาการคันคอ ลดอาการไอ
– ช่วยลดไข้หวัด
– แก้อาการปวดฟัน
– แก้พิษอัมพฤกษ์ อัมพาต
– แก้อาการปวดเมื่อย แก้เส้นเอ็นดึงรั้ง
– แก้ท้องร่วง
– ช่วยขับลมในลำไส้หรือระบบทางเดินอาหาร
– แก้อาการจุกเสียดแน่นท้อง ท้องอืดท้องเฟ้อ
– แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน
– แก้หอบหืด
– แก้ริดสีดวง
– แก้เป็นลมวิงเวียนศีรษะ
– ช่วยบำรุงธาตุ
– ใช้เป็นยาขับระดูและยาธาตุ

รากดีปลี
– แก้พิษอัมพฤกษ์ อัมพาต
– ช่วยลดไข้
– แก้พิษคุดทะราด
– แก้ท้องร่วง
– แก้อาการจุกเสียด
– แก้โรคลำไส้ใหญ่อักเสบ
– แก้ธาตุไม่ปกติ
– ช่วยระบายแก๊สในกระเพาะอาหาร
เถาดีปลี
– ขับเสมหะ
– แก้ปวดฟัน
– ปวดท้อง
– จุกเสียด
– แก้ท้องขึ้น
– แก้อืดเฟ้อ
– แก้ท้องร่วง
– ฝนน้ำทาแก้ฟกช้ำ
– แก้ปวดเมื่อยตามตัว
– แก้ทางเดินปัสสาวะไม่ปกติ
                                                                
ใบดีปลี
– แก้หืดไอ
– แก้ปวดเมื่อย
– แก้เส้นเอ็น

ดอกดีปลี
– แก้อาการคลื่นไส้
– แก้ลมวิงเวียน
– แก้อัมพาต
– แก้เส้นอัมพฤกษ์
– ใช้เป็นยาธาตุ
– ช่วยขับลมในลำไส้
– แก้ท้องร่วง
– แก้ปวดท้อง
– แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ
– แก้โรคหืดหอบ
– ช่วยขับเสมหะ แก้ไอ
– แก้โรคหลอดลมอักเสบ
– แก้โรคริดสีดวงทวาร




งานศึกษาที่เกี่ยวข้อง
1. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ทำการศึกษาผลดีปลี พบว่า สาร piperlonguminine ในผลสดของดีปลีสามารถต้านการสังเคราะห์เม็ดสีเมลานินในผิวหนังได้ และยังพบว่า สารสกัดจากผลดีปลีสามารถออกฤทธิ์ลดอาการระคายเคืองของเยื่อบุกระเพาะอาหาร ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงการเป็นโรคกระเพาะอาหารได้
2. ในประเทศอินเดีย มีรายงานว่ามีการใช้ดีปลีในการนำมาปรุงอาหาร เพราะดีปลีมีคุณสมบัติช่วยทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น และยังแนะนำว่า ผลดีปลีแห้งควรนำมาใช้ทันที และไม่ควรเก็บไว้นานเกิน 1 ปี เพราะหากเก็บไว้นานกว่านี้สรรพคุณ และฤทธิ์ทางยาจะน้อยลง
3. จากการศึกษาวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดล พบว่าดีปลีมีฤทธิ์ต้านการอ็อกซิไดส์ของเซลล์ได้ จึงนิยมใช้ผลดีปลีเป็นส่วนประกอบของยาต้านเซลล์มะเร็ง และรักษาโรคมะเร็ง
4. โรงเรียนกัลยาณวัตร จังหวัดขอนแก่น ได้ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับดีปลี พบว่า สารสกัดที่ได้จากผล และลำต้นของดีปลีสามารถกำจัด และลดการแพร่กระจายของลูกน้ำยุงได้ดี
5. การวิจัยสารสกัดจากผลดีปลี พบสารหลายชนิด และนำสารต่างๆมาทดสอบฤทธิ์ในการฆ่าแมลง พบว่า guineensine และ piperine สามารถฆ่าหนอนกระทู้ผักได้
6. จันทร์ทิพย์ (2535) ได้ศึกษานำสารสกัดของผลดีปลีมาทดสอบฤทธิ์ในการฆ่าแมลง พบว่า guineensine และ piperine สามารถฆ่าหนอนกระทู้ผักได้
7. ศูนย์วิจัยผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ กล่าวถึงสารสกัดจากดีปลีมีฤทธิ์ในการขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ และสามารถนำมาใช้สำหรับควบคุมแมลงศัตรูพืชได้หลายชนิด

ข้อควรระวัง
ผู้ที่ตั้งครรภ์ ไม่ควรรับประทานผลดีปลีหรือส่วนต่างๆของดีปลี เพราะอาจทำให้แท้งบุตรได้ ส่วนคนทั่วไปไม่ควรรับประทานในปริมาณที่มาก หรือรับประทานติดติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้เป็นร้อนในได้ หรือเกิดการอักเสบของเยื่อบุในระบบทางเดินอาหารจนเกิดเลือดออกได้
การปลูกดีปลี
ดีปลีเป็นไม้เลื้อยที่ชอบพื้นที่ชุ่ม ดินร่วนซุย ไม่มีน้ำท่วมขัง สามารถเติิบโตได้ดีในทุกสภาพดิน จึงเห็นได้ในทุกภาคของไทย
การขยายพันธุ์ดีปลีนิยมใช้วิธีการปลูกด้วยเมล็ด และการปักชำเถา โดยการปักชำจะใช้การตัดเถาดีปลีปักเพาะชำในถุงพลาสติก แล้วค่อยย้ายปลูกในแปลง พร้อมทำเสาสำหรับให้เถาเกาะเลื้อย โดยมีระยะห่างของเสาประมาณ 1.5-2 เมตร









เทคนิคปลูกยาดี ดีปลี
ดีปลีเป็นพืชสมุนไพรที่มีความสำคัญชนิดหนึ่ง นิยมปลูกใช้แทนเครื่องเทศ คือ พริก, พริกไทย และยังมีสรรพคุณช่วยแก้โรคมากมาย โดยเกือบทุกส่วนของดีปลี คือ ดอก, เถา, ผล, ราก นำมาทำเป็นยาสมุนไพรแก้โรคได้สารพัด เทคนิคการปลูกดีปลี
การเตรียมดิน เลือกพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีความร่วนซุย ระบายน้ำได้ดี
การเตรียมพันธุ์ ดีปลีนิยมขยายพันธุ์โดยใช้เถาปักชำ โดยจะใช้ยอดหรือไหลมาชำก็ได้ แต่นิยมใช้ยอดมากกว่าเพราะให้ผลผลิตได้เลย
วิธีปลูก
1. ใช้ยอดแก่ปลูก 3-4 ยอดต่อค้าง เกษตรกรอาจไม่เพาะชำกล้า แต่ใช้วิธีปลูกทันที โดยตัดยอดดีปลีประมาณ 5 ข้อแล้วนำไปปลูกติดกับเสาค้างเลย 3-5 ค้างต่อเสา ฝังลงดินประมาณ 3 ข้อ นำยอดทั้งหมดผูกติดกับเสาค้างเพื่อให้รากยึดเกาะที่เกิดขึ้นใหม่เกาะติดกับเสาค้าง พรางแสงด้วยทางมะพร้าวประมาณ 2 สัปดาห์
2.
ค้างที่ใช้ปลูกดีปลีเป็นค้างไม้หรือค้างปูน เสาค้างไม้ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10-15 เซนติเมตร เป็นไม้เนื้อแข็ง มีอายุการใช้งาน 10-20 ต้นดีปลี สามารถยึดเกาะได้เป็นอย่างดี แต่ปัจจุบันเสาค้างไม้หายากและมีราคาสูงจึงใช้เสาคอนกรีตสี่เหลี่ยมขนาด 15x15 เซนติเมตร สูง 2.5 เมตร รากของดีปลีที่ใช้ยึดเกาะกับเสาค้างคอนกรีตไม่สามารถยึดเกาะได้ดีเท่าค้างไม้เพราะเมื่ออุณหภูมิสูงจะเก็บความร้อน
3.
สำหรับระยะปลูก ระหว่างต้น 1.5-2 เมตร ระหว่างแถว 2 เมตร โดยจะได้จำนวนต้นในการปลูก 400-600ต้น/ไร่

การดูแลรักษา
1. ใส่ปุ๋ย สำคัญมากเนื่องจากดีปลีเป็นพืชหลายปีและให้ผลผลิตตลอดปี ควรให้ปุ๋ยสม่ำเสมอ ที่ใช้ได้มีทั้งปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ หยอดที่โคนต้น 1 กำมือต่อต้น
2.
ให้น้ำสม่ำเสมอ ใช้ระบบการให้น้ำตามร่อง 1 ครั้ง/สัปดาห์ แต่ไม่ควรให้แฉะจนเกินไปเพราะจะทำให้เกิดโรคโคนเน่า
3.
กำจัดวัชพืช 2 ครั้ง/เดือน ในช่วงฝนโดยวิธีถางตามแนวร่อง

การปฏิบัติก่อนและหลังเก็บเกี่ยวผลผลิต
1. ดีปลี ให้ผลผลิตและเก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุ 6 เดือน ถึง 1 ปี โดยทั่วไปสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ 3 ครั้ง/ปี
2.
วิธีเก็บเกี่ยว ใช้มือเด็ดที่ก้านขั้วผล สำหรับค้างที่สูงใช้บันไดปีนขึ้นไปเก็บเกี่ยว ใน 1 กิ่ง สามารถเก็บผลดีปลีได้ 2-3 ผลต่อครั้ง การเก็บเกี่ยวแต่ละรุ่นใช้ระยะห่างกัน 1-2 เดือน
3.
คัดแยกผลที่มีสีส้มแก่ เนื้อแน่นแข็ง ไม่มีรอยถูกแมลงทำลายออกจากผลที่ไม่มีคุณภาพ
4.
นำไปตางห้งทันทีเพื่อไม่ให้เกิดเชื้อรา โดยตากบนภาชนะยกพื้น สะอาด ป้องกันฝุ่นละอองหรือการปนเปื้อนจากจุลินทรีย์จนแห้งสนิท อัตราแห้งของดีปลี 4 กิโลกรัมสด ได้ 1 กิโลกรัมแห้ง
5.
เก็บรักษาในภาชนะที่สะอาด ระบายอากาศได้ แห้งเย็นและปราศจากแมลงสัตว์รบกวน
แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
1. ดีปลีเป็นพืชอายุยืน หากมีการบำรุงรักษาที่ดีจะสามารถให้ผลผลิตได้นานถึง 40 ปี ดังนั้นควรเลือกพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์
2.
การป้องกันโรคเน่า โคนเน่าเป็นปัญหาสำคัญ ควรให้ความสำคัญเรื่องดินที่ระบายน้ำได้ดี และมีการจัดการที่ดี เช่น การพูนโคนและทำร่องน้ำให้มีความลาดเทเล็กน้อยเพื่อให้น้ำไหลผ่านสะดวก
3.
ควรใช้ค้างที่มีความแข็งแรง มีอายุการใช้งานนาน เพราะการเปลี่ยนค้างบ่อยทำให้สิ้นเปลืองและทำให้ดีปลีชะงักการเจริญเติบโต
4.
คุณภาพที่ตลาดต้องการ คือ ผลขนาดใหญ่, สีน้ำตาลแดง ไม่ดำคล้ำ แห้งสนิทไม่กรอบเกินไป ไม่มีเชื้อราหรือแมลงติดอยู่ และไม่มีสิ่งปนเปื้อน ดังนั้นการตากแห้งและเก็บรักษาจึงสำคัญมากทำให้ไม่เสียคุณภาพและขายได้ราคาสูง



ดีปลีใช้ประกอบอาหารอะไรได้บ้าง?

        ผัดเผ็ดปลาไหล ใส่ดีปลีสมุนไพรล้วนๆ

จากที่ได้รับดีปลีสมุนไพรรสเผ็ดร้อนขม รสเผ็ดร้อนขม แก้ปถวีธาตุพิการ แก้ท้องร่วง ขับลม ในลำไส้แก้หืดไอ แก้ลมวิงเวียน แก้ริดสีดวงทวารหนัก แก้หลอดลมอักเสบ  แก้โรคนอนไม่หลับ โรคลมบ้าหมูขับน้ำดีในกรณีที่มีการอุดตันของท่อน้ำดี ขับระดู  ทำให้แท้ง ขับพยาธิ 

พริกลาบ หรือน้ำพริกลาบ หรือบ้างเรียกว่า น้ำพริกดำ
พริกลาบ หรือน้ำพริกลาบ หรือบ้างเรียกว่า น้ำพริกดำ เพราะมีสีดำของพริกแห้งย่างไฟ พริกลาบ ใช้เป็นเครื่องยำลาบ หรือเครื่องปรุงลาบ และยำต่างๆ เช่น ยำจิ๊นไก่ ยำกบ ยำเห็ดฟาง ปัจจุบัน มีผู้ทำขาย หาซื้อได้ตามตลาดสด 

ส่วนผสม

1.พริกแห้ง1/2กิโลกรัม
2.เม็ดผักชี2ช้อนโต๊ะ
3.มะแขว่น2ช้อนโต๊ะ
4.เทียนข้าวเปลือก2ช้อนโต๊ะ
5.มะแหลบ2ช้อนโต๊ะ
6.ดีปลี20ลูก
7.พริกไทยดำ1/2ช้อนโต๊ะ
8.กานพลู1ช้อนชา
9.โป๊ยกั๊ก1ช้อนโต๊ะ
10.เปราะหอม2ช้อนโต๊ะ
11.ลูกจันทน์เทศ4ลูก
12.ดอกจันทน์เทศ4ดอก
13.อบเชย3ชิ้น
14.กระวาน1ช้อนโต๊ะ
15.เกลือป่น1ช้อนโต๊ะ

วืธีทำ
1. ย่างพริกแห้งกับเตาถ่าน
2. คั่วเครื่องเทศที่สุกยากก่อน ได้แก่ ลูกจันทน์เทศ ดีปลี อบเชย โป๊ยกั๊ก กระวาน และเปราะหอม ใช้ไฟอ่อน พอมีกลิ่นหอม
3. ใส่เครื่องเทศที่เหลือลงคั่วด้วยกัน จนมีกลิ่นหอม พักไว้ให้เย็น
4. โขลกเครื่องเทศทั้งหมดรวมกันให้ละเอียด
5. ใส่พริกย่าง ลงโขลกรวมกันให้ละเอียด
6. ใส่เกลือลงโขลกรวมกัน คนให้เข้ากัน







เคล็ดลับในการปรุง/เลือกส่วนผสม

เนื้อสัตว์ 1 กิโลกรัม ใช้พริกลาบประมาณ 4-5 ช้อนโต๊ะ เพิ่มหรือลดตามความชอบเผ็ดมากหรือเผ็ดน้อย



ผลิตผลที่ได้จากผลของดีปลี 
ชาสมุนไพร ดีปลี
ที่มาและความสำคัญ
       ชาสมุนไพรเป็นเครื่องดื่มที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในขั้นตอนล้างพิษและรักษาสุขภาพ ของเหลวที่ร่างกายรับเข้าไปนั้นมีความสำคัญพอๆ กับอากาศบริสุทธิ์ที่คุณหายใจเข้าปอดทีเดียว ชาสมุนไพรยังมีผลต่อภาวะกรดด่างที่สมดุลในร่างกาย ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของกระบวนการล้างพิษในร่างกายซึ่ง ชาสมุนไพรนี้ ช่วยกระตุ้นระบบย่อยการดูดซึมอาหาร ช่วยผ่อนคลายระบบประสาทหรือช่วยลำเลียงสารอาหารไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย

          ส่วนประโยชน์ด้านสมุนไพรด้านสมุนไพรของดีปลีนั้นมีมากมายมหาศาล เริ่มตั้งแต่ลำต้นถึงเถา รสเผ็ดร้อน แก้ปวดฟัน จุกเสียด แก้ริดสีดวงทวาร ช่วยเจริญอาหาร ดอกนั้นรสเผ็ดร้อนขม แก้ท้องร่วง ขับลมในลำไส้ แก้หืดหอบ แก้ลมวิงเวียน แก้เสมหะ แก้ปวดท้อง บำรุงธาตุ แก้เส้นอัมพฤกษ์ อัมพาต ส่วนหากจะแก้ไข ให้ใช้ดอกแก่แห้งครึ่งกำมือฝนกับน้ำมะนาว กวาดคอหรือจิบบ่อยๆ

วิธีทำชาสมุนไพร ดีปลี
วัสดุ/อุปกรณ์
1.      สมุนไพร ดีปลี
2.      ครก
3.      ถุงชา
4.      แม็กเย็บกระดาษ
5.      ด้าย,กรรไกร
6.      ลูกปัด,ริบบิ้น,โบว์
7.      กระปุก









                                    ขั้นตอน/วิธีทำ
1.      นำดีปลีใส่ลงไปในครกตำหรือบดให้ละเอียด


2.      นำดีปลีกรอกใส่ถุง

3.      พับถุงชาแล้วแม็กมาเย็บ เพื่อป้องกันไม่ให้ผงดีปลีรั่วออกมาได้

4.      นำด้ายที่ร้อยลูกปัดแล้ว มาเย็บใส่ถุงชา แล้วตกแต่งให้สวยงาม

5.      นำมาใส่กระปุกและจัดให้สวยงาม




ประโยชน์ที่ได้รับ
ดีปลีสมุนไพรที่หลายคนอาจคิดว่าไม่น่าจะมีประโยชน์อะไร แต่แท้จริงแล้วสรรพคุณของดีปลีนั้นน่าสนใจอย่างมากเลยทีเดียว ที่สำคัญยังสามารถใช้เป็นยาอายุวัฒนะ เพื่อรักษาอาการต่างๆของร่างกายได้เป็นอย่างดี แถมเห็นผลแปลกตาแบบนี้ยังสามรถนำมาประกอบเป็นเมนูอาหารเพื่อสุขภาพทานได้ไม่น่าเชื่ออีกด้วย

คำแนะนำในการดื่มชาสมุนไพร ดีปลี
1.      ไม่ควรดื่มในปริมาณที่มากเกินไป เพราะอาจทำให้กระเพาะอักเสบ แสบทวารเวลาขับถ่ายได้
2.      สำหรับผู้ที่เป็นไข้ ไม่ควรดื่ม เพราะทำให้เป็นร้อนในด้วย
3.      สำหรับหญิงสตรีตั้งครรภ์ ห้ามดื่มหรือรับประทานดีปลีเด็ดขาด เพราะอาจจะทำให้แท้งบุตรได้


ผลที่ได้รับ

       พิสูจน์ได้ว่าจากเดิมที่ดิฉันและครอบครัวที่เคยปวดท้อง และมีอาการเวียนศรีษะบ่อยๆเมื่อได้ดื่มชาสมุนไพรดีปลีก็จะรู้สึกมีอาการดีขึ้น เนื่องจากดีปลี มีสรรพคุณเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร ท้องอืดท้องเฟ้อ ธาตุไม่ปกติ

เอกสารอ้างอิง
1.นายอนุชา เกษมสานต์'2551.การเปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่างสารสกัดจากพริกขี้หนูและดีปลีต่อการพัฒนาของแมลงวันบ้าน.
2.วนัสนันท์ สะอาดล้วน'2548,ประสิทธิภาพของสารสกัดหยาบจากดีปลีเพื่อควบคุมโรคแอนแทรคโนสในผลมะม่วง

3(ประธาน นันไชยศิลป์, สัมภาษณ์, 3 กรกฎาคม 2550)

4. http://www.samunpai.com/samunpai/show.php?id=55&cat=1
     http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=6094.0

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น